วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การบาดเจ็บ

การบาดเจ็บและการรักษา

1. การบาดเจ็บที่หัวไหล่
        บริเวณข้อไหล่เคลื่อนจะพบได้จากการเหวี่ยงแขนตบลูกบอล โดยมีการบวมมากรอบ ๆ ข้อต่อ เคลื่อนไหวไม่ได้ อาจคลำพบข้อเคลื่อนได้
การปฐมพยาบาล
        อย่าให้ข้อส่วนนั้นเคลื่อนไหว ถ้ามีอาการบวมให้ใช้น้ำแข็งประคบ ควรเข้าเฝือกชั่วคราว เพื่อมิให้เนื้อเยื่ออักเสบยิ่งขึ้น หากมีอาการช็อก ให้รีบแก้ไข แล้วนำส่งโรงพยาบาล ข้อต่อที่หัวไหล่ เป็นข้อต่อที่มีเอ็นเป็นกล้ามเนื้อยึดอยู่ซึ่งเป็นข้อต่อที่ไม่แข็งแรง อาจเป็นอันตรายที่เกิดขึ้นกับหัวไหล่ เช่น เคล็ด ขัด ยอก กล้ามเนื้อฉีก หรือ อักเสบ

สาเหตุ ข้อไหล่หลุดเกิดจากถูกกระแทก กระทบกระแทกอย่างแรง เช่น การตีขว้าง เหวี่ยง หรือแรงบิดที่ไหล่ ในการตบลูกวอลเลย์บอลอย่างรุนแรงจะทำให้กระดูกต้นแขนหลุดออกจากเป้าได้
อาการ จะมีอาการปวด บวม ขยับข้อไหล่ได้ลำบาก หรือไม่ได้เลย เฉพาะในท่ากางแขนออก สังเกตเห็นการผิดรูปบริเวณข้อไหล่ได้
การป้องกันอันตรายบริเวณหัวไหล่
1) สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ให้แข็งแรง
2) ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บควรปฐมพยาบาลให้หายเร็วที่สุด
3) การปฐมพยาบาลหัวไหล่หลุด
4) ถ้าปวดใช้ยาแก้ปวด
5) ควรจัดข้อไหล่ให้เข้าที่โดยเร็ว
6) ประคบด้วยความเย็นภายใน 24 ชม. แรก
7) หลังจากจัดข้อไหล่เข้าที่แล้วจะต้องใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขนหรือใช้ผ้ายืดม้วนพับต้นแขนแนบลำตัว ไว้ประมาณ 3 สัปดาห์
8) ประคบด้วยความร้อนหลังจาก 24 ชม. แล้ว
2.การบาดเจ็บข้อนิ้ว เคล็ด แพลง
        เกิดจากการฉีดขาดของเอ็นหรือเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบนิ้วมือ พบได้เนื่องจากการรับลูกที่ลูกกระแทกนิ้วโดยแรง จากการส่งลูกของฝ่ายตรงข้าม จะมีอาการบวมที่ข้อมือ เคลื่อนไหวจะเจ็บ
การปฐมพยาบาล
       ให้ประคบน้ำแข็งทันที ประมาณ 10-15 นาที นอกนั้นดามไว้ด้วยพลาสเตอร์หรือเฝือกอ่อนในท่าที่งอนิ้วมือเล็กน้อย ประมาณ 2-3 สัปดาห์
3.การบาดเจ็บข้อต่อนิ้วมือเคลื่อนหรือหลุด
        มักเป็นที่นิ้วก้อยและหัวแม่มือ จะมีอาการเจ็บบวม อาจจะเคลื่อนไหวข้อนิ้วมือไม่ได้เลย และรูปร่างข้อนิ้วมือผิดรูปไปจากปกติ
การปฐมพยาบาล
       ให้พักและรีบประคบน้ำแข็งทันที ประมาณ 10-15 นาที แล้วดามไว้ด้วยไม้หรือพันไว้ด้วยผ้าไม่ให้เคลื่อนไหว จากนั้นรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที อย่าพยายามดึงเข้าที่เอง เพราะก่อใให้เกิดอันตรายเพิ่มมากขึ้น
4.การบาดเจ็บข้อเท้าแพลงหรือข้อเท้าเคล็ด
       หมายถึง การที่เอ็นยึดข้อเท้าได้รับบาดเจ็บ พบมากที่สุดที่ด้านนอกของข้อเท้า อาจเกิดได้จากการกระโดดแล้วลงสู่พื้นผิดท่า เป็นเหตุให้บาดเจ็บหรือการวิ่งแล้วสะดุดล้มลงจึงเกิดการกระแทกบริเวณข้อเท้าด้านนอก
ระยะเบื้องต้นจะมีอาการดังนี้
-กดเจ็บบริเวณเคล็ด
-บวมเล็กน้อย
-มีอาการเสียวที่ข้อเท้าน้อยมาก
-เดินกะเผลก
การปฐมพยาบาล
        ให้พักข้อเท้าโดยยกให้สูงและประคบเย็นทันที ประมาณ 5-10 นาที ดดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งทุบละเอียดบรรจุในกระเป๋ายาง ถุงพลาสติกหรือห่อผ้าและพันผ้าไว้ประมาณ 3 วัน

อ้างอิงจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น